คนไทยคิดเก่ง แต่ทำน้อยไปนิดนะครับ พวกที่ชอบทำก็ก้มหน้าก้มตาทำ ไม่ค่อยมีเวลาคิด มีคนสนทนากันเยอะว่าทฤษฎี (Theoretical) นี่ควรจะมาก่อนการปฏิบัติ (Practice) หรือ ปฏิบัติมาก่อนทฤษฎี ผมเองนั้นเห็นว่าได้ทั้งสองทาง โดยเฉพาะอย่างหลังนี่ก็ไม่ควรละเลย ความคิดสร้างสรรค์หลายครั้งมาจากลงมือทำให้เบื่อจนคิดใหม่ได้ก็มี ที่แน่ๆคือคิดอย่างเดียวแต่ไม่ทำอะไรเลยนี่ ไม่เกิดแน่
การอ่านนี่ก็ถือว่าเป็นการทำอย่างหนึ่งนะครับ มีคนเขาบอกว่า วิธีของความคิดนั้นเกิดขึ้นตอนแรกก็มักจะมาจากตอนใส่ข้อมูลเข้าไป เป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับสมอง แต่ในการจะสร้างอะไรออกมาจากสมอง สุดท้ายก็ต้องผ่านสองมืออยู่ดี
ผมมักจะแนะนำให้สถาปนิกและน้กออกแบบที่ทำงานกับผมให้ความสำคัญกับ “สองมือ” ที่ว่านี่ ภาษายากๆเราเรียกว่า Design Instrumental Technique หรือเครื่องมือที่เปลี่ยนความคิดออกมาเป็นสื่อที่จับต้องได้ นักเขียนอาจจะใช้ตัวหนังสือ นักดนตรีใช้ตัวโน๊ตและเสียงเพลง สถาปนิกอาจจะใช้แบบและหุ่นจำลอง แต่ลองนึกไปแล้ว บรรดานักสร้างสรรค์ทั้งหสายล้วนก็มีเครื่องมือที่ว่านี่กันทุกคนแต่อาจจะมีหน้าตาแตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าใครคิดจะเริ่มสร้างสรรค์อะไรกัน ก็คงจำเป็นไม่น้อยที่ต้องหาเครื่องมือของคุณให้เจอเสียก่อน
สมอง จะได้มีสองมือโดยไว
บทความเขียนให้กับ http://www.creativethailand.org
14.10.2009
http://www.creativethailand.org/th/articles/article_detail.php?id=15
“สองมือ” เครื่องมือที่เปลี่ยนความคิดออกมาเป็นสื่อที่จับต้องได้ : อันนี้โดนใจที่อย่างน้อยก็มีคนคิดเหมือนเราครับ ขอบคุณวลีดีๆครับ
เห็นด้วยครับ คิดดีๆ ง่าย ตอนทำยากกว่า พอทำจริง เหนื่อยมาก มีปัญหาต้องแก้ต่อ ประสบการณ์ที่ได้จากทำไปคิดไป มีค่ามากกว่า เพราะทำให้ทำเป็นจริงๆ หากวันนี้ยังไม่ดีเท่าที่ควร วันหน้าพัฒนาขึึ้นได้ (ชอบเรื่องหาเครื่องมือครับ )