[AI-ARCHITECTURE] INTERVENTION / DBALP LAB-1

เก็บตกจากสิ่งที่ได้จาก DBALP LAB-1 [AI-Architecture] Intervention เมื่อวานนะครับ

  1. สิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับสถาปนิกตอนนี้ คือการ prompt AI (Midjourney v.6) เพื่อการสร้าง key visual สำหรับ creative process เช่นการนำไปใช้ร่วมกับ Pattern Book Catalogue Design Methodology วิธีการสร้าง key visual จาก AI มีความน่าสนใจในการสร้างภาพในขอบเขตของ parameters ที่ให้ (เหมือนเป็น design criteria) แต่จะสามารถสร้างภาพออกไปนอกข้อจำกัดของ knowledge ของสถาปนิก เป็น introduction to creative possibilities ที่น่าสนใจ
  2. การสร้างภาพโดย AI ในวันนี้ยังไม่ใช่การ ‘ออกแบบ’ แต่เป็นการ generate ภาพมาจาก data ทั้งหมดทั้งมวลที่มีอยู่ในระบบ online ดังนั้น ถ้าจะเป็นสิ่งใหม่ (The New) ก็จะเป็นสิ่งใหม่ในแบบที่ a+b=(a+b) ยังไม่เป็น a+b=c ซึ่งเป็นการประมวลผลแบบ quantum method แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ เพราะ Midjourney เองก็มีวิวัฒนาการที่เร็วมาก ดังนั้นถ้าวันนี้ จะเอาภาพที่ generate ได้จากการ prompt AI ไปขายลูกค้าโดยตรง ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการสร้างภาพที่มาจากภาพที่มีลิขสิทธิ์ หรืองานออกแบบที่มีลิขสิทธิ์
  3. บริษัทสถาปนิกหลายแห่งในต่างประเทศ พี่หาว Torwong Salwala เล่าว่า เริ่มมีการใช้งาน Midjourney เพื่อสร้างภาพในกระบวนการสร้างสรรค์กันอย่างจริงจังแล้ว แม้ว่าวันนี้ยังไม่ใช่การใช้เพื่อการออกแบบ แต่ก็เริ่มเป็นประโยชน์มาก ผมเล่าให้พี่หาวฟังว่า ตอนผมเข้าทำงานใหม่ๆ ก็บอกเจ้านายตอนนั้นว่า อีกหน่อยบริษัทสถาปนิกจะใช้ software เขียนแบบบน computer กันหมด เจ้านายเก่าก็บอกว่าอย่าเพ้อฝัน (ตอนนั้นบริษัทสถาปนิกเขียนแบบกันด้วยมือ!!) ดังนั้น การเริ่มต้นทำความเข้าใจกับ AI ในฐานะ ‘เครื่องมือ‘ อาจไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันเช่นกัน แต่เป็นการมีวิสัยทัศน์ไปข้างหน้าในทางวิชาชีพ ที่เป็นเรื่องจำเป็นเหลือเกินในสมัยนี้

Submit a comment