My Disappearing Memory

ความทรงจำเลือนลาง กับครั้งหนึ่งที่เคยประกวดออกแบบอาคารรัฐสภา

ผมจำได้ว่าการทำประกวดแบบครั้งนั้น เป็นช่วงปลายของคตินิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตย อาจจะเป็นด้วยวิธีคิดที่เชื่อมั่นตัวเองมากเกินไปของรัฐบาล หรือแนวคิดของ สส.ฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้น (ซึ่งส่วนใหญ่ย้ายข้างมาอยู่ฝั่งรัฐบาลในปัจจุบัน) พยายามมากเกินไปที่จะให้ตัวเองและพวกพ้องได้เปรียบทางการเมือง เปิดช่องให้เกิดข้ออ้างให้มีการใช้อำนาจการปกครองในทางตรงข้ามเข้ามายึดอำนาจการปกครองในภายหลัง การประกวดแบบอาคารรัฐสภาในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนั้น จึงมีความน่าสนใจในบริบททางสังคมอยู่ไม่น้อยทีเดียว

ผมเองมีความสนใจในปรัชญาแนวคิดในวิธีของประชาธิปไตย ไม่ใช่มาจากความถูกต้องชั่วดี แต่เพราะคิดว่าหากมีวิธีการปกครองใดที่จะพาให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด ประชาชนมีอิสระทางความคิดและมีอิสระที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ วิธีนั้นน่าจะเป็นวิธีที่ดี แน่นอนว่าการมีรากทางวัฒนธรรมในการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศนั้นก็เป็นสิ่งที่สวยงาม และสามารถดำรงอยู่คู่กันไปได้ภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีประชาชนเป็นหลักของการปกครองนั้น

อาคารรัฐสภาที่ผมออกแบบนั้น เริ่มความคิดในการวางผังพื้นมาจากรากความคิดของความเท่าเทียมกัน และทำให้ชัดเจนว่าเป็นอาคารที่ปราศจาก ‘ฐานันดร’ เพราะในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง สส.และ สว. เป็นแค่ฟันเฟืองทางนิติบัญญัติที่เชื่อมต่อการปกครองในสภาไปสู่ประชาชน สส.และ สว. ไม่ได้มีสิทธิพิเศษเหนือประชาชน และมีเกียรติแค่เพียงเป็นผู้ที่รัฐ ‘จ้าง’ เพื่อให้สื่อสารเชื่อมต่อกับประชาชนเท่านั้น การวางผังจึงกำหนดให้ห้องประชุมของ สส.และ สว. เชื่อมต่อกันเป็นรูปวงกลม อยู่ตรงกลางของอาคารที่ล้อมรอบด้วยทางเดินและสำนักงาน และครอบไว้ด้วยเสา 75 ต้น (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) ที่เป็นตัวแทนของประชาชน 75 จังหวัด (ในขณะนั้น) และแนวเสาทั้งหมดนั้น ถักทองเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นโครงหลังคา แสดงความหมายของประชาชนที่ ‘ครอบ’ สส. และ สว. เอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ทุกคนไม่ลืมที่มาของตนว่าตนเข้ามาทำงานได้เพราะประชาชน มีความถ่อมตัวอยู่เสมอให้กับประชาชน ซึ่งนั้นเป็นหัวใจที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ผิดไปจากนี้ ผมว่าไม่ใช่วิธีคิดแบบประชาธิปไตย

แต่ก็ด้วยบริบททางสังคมในขณะนั้นที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคของเผด็จการที่นำแนวคิดแบบฐานันดร ความเป็นผู้ ‘ถูก’ และ ‘ผิด’ แบบชัดเจนกลับเข้ามาเป็นบทสนทนาหลักของสังคมในการปกครองประเทศ แนวคิดของการออกแบบนี้ แม้ว่าจะได้รับการคัดเลือกให้ติด 1 ใน 10 อันดับ แต่ก็ยากที่จะชนะประกวดแบบเมื่อเทียบกับทางเลือกอื่นๆในเวลานั้น ซึ่งมีลำดับความคิดในวิธีแบบประชาธิปไตยน้อยกว่า แต่มีความชัดเจนในเรื่องความ ‘ดี’ และ ‘ชั่ว’ อย่างชัดเจนในบริบทของสังคมในขณะนั้น ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงไม่น่าประหลาดใจนัก แต่ในเวลาที่เรากำลังถามตัวเองอีกครั้งในคำถามกับวิธีของประชาธิปไตยที่เรามีในวันนี้ จึงเอาเรื่องของการประกวดแบบอาคารรัฐสภาที่พ่ายแพ้ไปนั้น มาเล่ากันให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้คิดและตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวเองและสังคม ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของประเทศในขณะนี้

Submit a comment

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s