To know everything is to know nothing.

การรู้ทุกสิ่งทุกอย่างก็คือการไม่รู้อะไรเลย

:สุภาษิต จากหนังสือศรีสุริโยทัยสาร ปี พ.ศ. 2504

รวบรวมโดย พูนสุข สรัคคานนท์ และ วัฒนา สีขี้เหล็ก

ถ้าผมแปล ก็คงจะแปลอีกอย่าง ประมาณว่า การที่เราจะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ ก็ต้องรู้ว่า การไม่รู้อะไรเลยนั้นคืออะไร

เราเรียนรู้เพื่อที่จะรู้ และเมื่อรู้แล้วก็ไม่มีที่ว่างสำหรับความว่างเปล่าอีกต่อไป เรารู้ว่าเรารู้และเรารู้ว่าเราไม่รู้สิ่งใด และไม่มีช่องว่างอื่นใดสำหรับการที่เราไม่รู้อีกต่อไป

นั่นแปลว่าเรายังไม่ได้รู้ ‘ทุกสิ่ง’ เพราะเรายังไม่รู้ สิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้

การปล่อยวางว่าเรารู้ทุกสิ่งแล้ว จะทำให้เราเริ่มมองเห็นว่ายังมีสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อยู่ตรงนั้น และเป็นโอกาสเดียวที่จะทำให้เราได้รู้ซึ่งทุกสิ่ง บุคคลที่คิดว่าตนเองเป็นปราชญ์ ย่อมไม่สามารถปล่อยวางความ ‘รู้’ ของตนเองลงได้ เนื่องจากใช้ความที่คิดว่าตน ‘รู้’ แล้วนั้น เป็นเกราะคุ้มกันตัวเองจากสิ่งอื่นที่เข้ามารุกราน เกราะนั้นดีในวิธีที่คุ้มครองเรา แต่ก็เป็นเกราะเดียวกันกับที่กีดขวางเราในการที่จะทำให้เราได้รู้มากขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพาเราไปรู้ใน ‘ทุกสิ่ง’

เราต้องมองเห็นความโง่ของเรา ความฉลาดจึงจะปรากฏ

เวลาที่เรามองเห็นความ ‘ไม่รู้’ หรือเรายอมรับได้ว่าเราไม่รู้อะไรเสียเลย นั่นหมายถึงอีกครึ่งหนึ่งของจริงในชีวิตเรากำลังจะเริ่มปรากฏขึ้น และพาให้เราไปรู้ซึ่ง ‘ทุกสิ่ง’ อย่างแท้จริง และเราอาจจะสามารถยอมรับได้ในท้ายที่สุดว่าสิ่งที่เราเคยคิดว่าเรารู้นั้น มันช่างว่างเปล่าเหลือเกินเมื่อเทียบกับความรู้ในทุกสิ่งที่มี

และนั่นนำไปสู่ความรู้ในทุกสิ่ง ว่าแท้จริงแล้ว เรานั้นช่างไม่รู้อะไรเสียเลย

Submit a comment

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s