คำถามเช้านี้จากลูกชาย:
พ่อ อะไรคือ reductio ad absurdum เคยได้ยินหรือป่ะ
เดือดร้อนให้พ่อต้องไปหาความหมายใน search ต่างๆอยู่พักใหญ่ แล้วก็พบว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจมาก
reductio ad absurdum เป็นภาษาละติน ที่อาจแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Reduction to Absurdity เป็นการโต้เถียงเพื่อไปสู่การพิสูจน์ว่าข้อโต้แย้งของตัวเองว่าเป็นจริงโดยใช้เหตุและผลที่งี่เง่าสุดโต่ง และตรรกะวิบัติมาโต้แย้ง เช่น โลกไม่ได้แบนหรอก เพราะถ้าโลกแบนคนที่อยู่ขอบโลกต้องตกโลกไปแล้ว
แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ใน reductio ad absurdum นี้ ประโยคแรกจะเป็นประโยคที่เป็นจริงนะครับ แต่เหตุผลที่นำมาสนับสนุนเพื่อให้เห็นว่ามันจริงนั้นมันมักจะเป็นเรื่องไร้สาระสุดโต่ง หรืองี่เง่าสุดตีน จนคิดตามตรรกะเหล่านั้นไม่ไหวเสียมากกว่า
เมื่อหันมาดูในบริบทของประเทศไทย ก็จะเห็น reductio ad absurdum นี้ได้โดยทั่วไป เช่น
‘ถ้าจะทำรถไฟความเร็วสูง ก็ควรจะทำถนนลูกรังให้หมดไปจากประเทศไทยเสียก่อน’
‘ถ้าคุณไม่อยากถูกตีหัวอีก ก็รับปากว่าอย่าพูดเรื่องการเมือง จะช่วยดูไม่ให้ถูกตีหัวให้’
‘สมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เข้าประชุม เพราะปรกติจะนั่งอยู่นอกห้องประชุม จนกว่าจะมีคนเรียกมาให้เข้าประชุม’
‘ราคายางตก เพราะคนปลูกยางมากเกินไป’
‘ถ้าไม่อยากให้น้ำท่วม ก็ให้ย้ายไปอยู่ดาวอังคาร’
ถ้าผมจะลองแปล reductio ad absurdum ให้ลูกชายผมเข้าใจง่ายๆ ในกรอบภาษาที่มีอยู่แล้ว แม้จะไม่ตรงตัวนักแต่พอใช้การได้สักครึ่งนึง ผมคงจะแปลว่า ตรรกะวิบัติ นะครับ ผมค้นพบว่า ตรรกะแบบ reductio ad absurdum นี้ มีประวัติย้อนไปถึงสมัยกรีกกันทีเดียว และเหมือนจะถูกใช้อ้างอิงกันมากที่สุดในทางคณิตศาตร์ ซึ่งซับซ้อนเกินไปสำหรับผมและลูกชาย จึงป่วยการจะอธิบายให้ยืดยาวไปกว่านี้
เวลาที่เราสามารถให้ความหมายกับบางสิ่งบางอย่างและแยกแยะได้อย่างชัดเจน เราก็จะมองเห็นมันครับ และเวลาที่เราเริ่มมองเห็นมัน เราจึงจะเริ่มใช้งานมัน หรือทำให้มันเป็นประโยชน์สำหรับเราได้
(รูปประกอบจากผลงานของศิลปินในนิทรรศการ #UNCENCORED ที่ The Jam Factory เดือน กรกฎาคม 2562)
ok ครับ