Democracy As An Economic Engine

ประชาธิปไตย กับ เศรษฐกิจ ผันแปรตามกัน

วิธีเดียวของเผด็จการคือการ ‘เป็นผู้ถูก (being rightous)’ เกี่ยวกับทุกสิ่ง ในวิธีนั้นผู้นำเผด็จการทหาร จะมีอาการ ‘หูดับ’ ฟังใครไม่เป็น และเวลาที่ไม่ฟังใครแล้วนั้น ก็จะไม่ได้ยินประชาชนเช่นกัน เมื่อไม่ฟังประชาชน ก็จะไม่ได้ยินว่าพวกเขาต้องการอะไร ในวิธีที่จะขับเคลื่อนชีวิตและเศรษฐกิจให้เคลื่อนไปข้างหน้า เผด็จการทหารคิดอยู่เพียงสิ่งเดียวคือ ทำอย่างไรให้ยังคงไว้ซึ่งอำนาจตน โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอ จริงๆแล้วเผด็จการทหารย่อมจะทำทุกสิ่งให้ประขาชนอ่อนแอด้วยซ้ำ ทั้งทางเศรษฐกิจและการศึกษา เพราะถ้าประชาชนยิ่งอ่อนแอ พวกเขาก็จะควบคุมประชาชนได้ง่าย นั่นเป็นสาเหตุหลักที่เราไม่เคยเห็นเผด็จการที่ปกครองประเทศที่เจริญก้าวหน้า มีแต่เผด็จการที่อยู่ในประเทศที่ยากจนและล้าหลัง

ประเทศจีนไม่ได้ปกครองด้วยเผด็จการ แต่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แม้จะประชาชนจะไม่ได้สิทธิเสรีภาพในวิธีเดียวกันกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่คอมมิวนิสต์ก็มีโครงสร้างรากฐานมาจากประชาชน ไม่แปลกใจที่จีนจะมีเศรษฐกิจที่ดี แต่ถ้าใครบอกว่าจีนเป็นเผด็จการแล้วยังได้ดีทางเศรษฐกิจ อันนี้ต้องเรียนว่าเข้าใจผิดกัน

การเป็นประชาธิปไตยคือการที่ประชาชนได้เลือกผู้นำของเขาเอง วิธีไหนที่เขาเลือก ก็จะเลือกมาจากการที่ผู้นำนั้น ‘ใช้การได้ (Workable)’ ในสายตาของเขา และถ้ามองจากมุมมองทางเศรษฐกิจ พวกเขาก็จะเลือกผู้นำที่มีแนวคิดสอดคล้องกับการทำมาหากินของเขา เพื่อที่พวกเขาจะทำมาหากินได้ดีขึ้น การปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้เศรษฐกิจแปรผันตามกันโดยธรรมชาติ ช่วงไหนประเทศเรามีการปกครองที่ใกล้กับระบอบประชาธิปไตยมาก เศรษฐกิจก็จะมีความเจริญก้าวหน้ามาก ช่วงไหนที่ทหารเข้ามาปกครองประเทศ มีลักษณะเป็นการตัดสินใจแบบเผด็จการ เศรษฐกิจก็จะทรงตัว หรือตกต่ำ เป็นสถิติที่ชัดเจนแบบนั้นตลอดมา

คำถามก็คือ ถ้าเผด็จการทหารทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ แล้วทำไมประเทศไทยถึงอนุญาตให้ประเทศถูกปกครองด้วยเผด็จการทหารได้เป็นช่วงๆยาวนานมาเกือบจะ 90 ปี โดยที่ประชาชนไม่ได้ออกมาตอบโต้บ่อยครั้งนัก คำตอบก็น่าจะอยู่ในประโยคแรก คือการที่ประชาชนอาศัยอยู่ใน ‘การเป็นผู้ถูก (being rightous)’ นั้นถูกเพาะบ่มมายาวนานมาก ตั้งแต่ระดับพื้นฐานโครงสร้างทางวัฒนธรรม เช่น ความเกรงใจ ไปจนถึงความเคารพยำเกรงต่อศาสนา หรือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งหมดนี้ล้วนถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือของเผด็จการทหารในการแบ่งประชาชนเป็นสองพวก พวกหนึ่งได้รับการให้ความหมายว่าเป็นพวกที่ ‘ถูก’ คือพวกที่สนับสนุนเผด็จการทหาร เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ เคร่งครัดในศาสนา และอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่สนับสนุนเผด็จการทหารเป็นฝ่าย ‘ผิด’ และถูกใส่ร้ายป้ายสี ให้เป็นพวกที่ไม่เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ไปโดยปริยาย และด้วยความจงรักภักดีของประชาชนที่มี่ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาอย่างยาวนาน การที่เผด็จการทหารใช้สถาบันฯเป็นโล่ห์ป้องกันตัวเช่นนี้นั้น จึงทำให้เผด็จการทหารที่อ้างว่าการลงมือปฏิวัติในแต่ละครั้ง จึงสามารถสำเร็จได้โดยเป็นฝ่าย ‘ถูก’ ทุกครั้ง และทำให้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหารในประเทศไทย จึงมีชีวิตยืนยาวมาได้อย่างน่าแปลกใจ

ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ถ้ามีจุดยืนอยู่บนประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตน ก็มีภาวะเป็น ‘ผู้นำ’ ได้ ถ้าผู้นำนั้นมี ‘ภาวะผู้นำ (leadership)’ อยู่ในระดับสูง การฟังที่มีให้กับประชาชนก็จะอยู่ในระดับสูง ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นได้ แต่การมีผู้นำในแบบที่มีภาวะผู้นำนั้น ก็หาได้ยากยิ่งเต็มทีในระบอบเผด็จการ เนื่องจากการ ‘เป็นผู้ถูก’ นั้น จะขัดแย้งโดยตรงกับการมีภาวะผู้นำที่แท้จริง ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงมีความมั่นคงมากกว่าในหลักการ ในการนำพาประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่มั่งคั่ง และประชาธิปไตย จึงเป็นสิ่งที่คนทำมาหากิน คนรุ่นใหม่ และคนส่วนใหญ่ที่ต้องพึ่งพากลไกลธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กโหยหา เพื่อให้โอกาสที่พวกเขาจะเลือกผู้นำที่ให้ประโยชน์กับพวกเขา และได้มีโอกาสลุกขึ้นมาแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้เปรียบจากการยึดโยงตัวเองกับอำนาจที่ได้จากระบอบเผด็จการ และทำให้ความมั่งคั่งนั้น กระจายลงมาสู่ทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียม

ถ้าเรามองไปข้างหน้าโดยเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ มีความรักให้กับประชาชนโดยปล่อยวางการมีมุมมองแบบ ‘เป็นผู้ถูก’ เหล่านั้นลง เราจะเริ่มมองเห็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในอีกแบบหนึ่งที่ไม่ได้เป็นเพียงแนวคิด แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่เศรษฐกิจที่ก้าวหน้า มั่นคง และสร้างความเจริญที่ยั่งยืนให้กับคนไทยทุกๆคน ในเวลาอีกไม่ช้านาน

Submit a comment

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s