มีแต่สถาปนิกที่ไร้สำนึกและนักพัฒนาที่ขาดสติเท่านั้น ที่แนะนำให้เจ้าของโรงแรมดุสิตธานีรื้ออาคารเดิมลงทิ้ง และสร้างใหม่
ไม่ได้เป็นเหตุผลอะไรทางคุณค่าอาคารทางสถาปัตยกรรมเลยนะครับ แต่เป็นเรื่องธุรกิจล้วนๆ
เรื่องแรก คือคนที่ทำการศึกษา Feasibility ให้นั้น ก็ช่าง casual ขนาดที่ไม่นำเอาโครงการข้างเคียงอย่าง One Bangkok เข้ามาเป็น context ของการศึกษา ในศักยภาพของพื้นที่ขายขนาด 2 ล้านตารางเมตรจาก One Bangkok นี่ อย่าว่าแต่โครงการใหม่บนที่ดินของโรงแรมดุสิตธานีเลยครับ ย่านพระรามสี่ทั้งหมดนี่รับรองราบเป็นหน้ากลองไปอีก 10 ปีด้วยอาการ over supply แน่นอน เกรงว่าถ้าลงทุนทุกตึกโรงแรมดุสิตธานีทิ้งไป สร้างตึกใหม่ขึ้นมาเต็ม FAR ก็อาจจะใช้เวลาขายพื้นที่กันอย่างยากเข็ญไปกันอีกหลายปี ถ้าทำเป็นโรงแรมขึ้นมาใหม่ ก็ต้องไปแข่งกับโรงแรมใหม่ๆที่จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในบริเวณนั้น ไม่มีข้อได้เปรียบด้าน heritage value เทียบกับการปรับปรุงอาคารระดับ signature แบบดุสิตธานีขึ้นมาให้ทันสมัย คนที่อยู่ในธุรกิจโรงแรมมาหลายปีทุกคนรู้แบบแทบไม่ต้องคิดเลย ว่าในกรณีนี้ อาคารที่ทรงคุณค่าแบบดุสิตธานีได้เปรียบทางด้านการตลาดมากกว่าแน่นอน การทุบอาคารดุสิตธานีทิ้ง จึงทำให้โครงการใหม่ที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นนั้น อาจอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยงทางธุรกิจที่สูงขึ้นเมื่อนำเอาบริบทของโครงการที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงมาวิเคราะห์ร่วมด้วย
ผมเชื่อว่าคนที่เสนอแนวทางที่ทุบอาคารทิ้งทั้งหมดนี่ ไม่ได้คิดอะไรไปไกลว่า commissioning fee ที่สูงขึ้น ทั้งค่าออกแบบ ค่าที่ปรึกษา เพราะคิดกลับไปมาทางธุรกิจอย่างไรแล้ว การทุบอาคารเดิมทิ้งไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในทางธุรกิจอย่างแน่นอน สงสารแต่เจ้าของโครงการที่อาจจะต้องประสบปัญหาในการทำกำไรให้กับโครงการในอนาคต เพราะเลือกเชื่อที่ปรึกษาที่ไม่มีประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจ และมีแต่ report สวยๆบนกระดาษ แต่ขาดการวิเคราะห์ที่รอบคอบโดยคำนึงถึงองค์รวมของธุรกิจและเมืองที่แท้จริง
แนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาคือเก็บโรงแรมเดิมไว้ เพราะ branding แข็งแรง สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในยุค Modernism ที่ทรงคุณค่า เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ถ้าได้มีปรับปรุงภายในให้ทันสมัยสะดวกสบาย และทำการตลาดดีๆ รับรองอยู่ยงคงกะพันได้อีกนานครับ ส่วนพื้นที่ที่จะเพิ่มเติมเพื่อหารายได้เพิ่มก็ให้ทุบอาคารด้านข้างลง แล้วสร้างเป็นอาคารสูงขึ้นมาแทนที่ให้เต็ม FAR ส่วนที่จอดรถด้านหน้าขุดลงไปใต้ดิน ทำเป็น commercial รองรับนักท่องเที่ยวย่านพัฒพงษ์ที่เดินกันอย่างขวักไขว่ทั้งกลางวันและกลางคืน บวกลบค่าก่อสร้างแล้วจะลดไปหลายพันล้าน (เพราะเก็บอาคารเดิมไว้บางส่วน) ทำให้ในแง่การลงทุนแล้วมี safety เยอะกว่าการทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ทั้งหมดแน่นอน ลดความเสี่ยงในการลงทุน และมีโอกาสคืนทุนในเวลาอันสั้นกว่า
ฟังดูก็อาจไม่น่าเชื่อว่าบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจสำหรับโครงการขนาดใหญ่ขนาดนี้จะทำการศึกษาที่ผิดพลาดได้ขนาดนี้นะครับ แต่เชื่อเถอะฮะว่าเป็นไปได้ ส่วนมากจะเป็นพวกที่ใส่สูทหล่อๆ หน้าตาดีนี่แหละ ไม่ได้เรื่องที่สุดแล้ว และสุดท้ายเราก็หลงเชื่อคนพวกนี้แหละครับ เจ้าของโครงการก็จะลงทุนกันจนหน้ามืด ส่วนเมืองกรุงเทพฯในแบบที่เรารักก็ต้องถูกทำลายย่อยยับไปทีละน้อย และไม่เหลือความภูมิใจใดๆส่งต่อไปให้ลูกหลานได้อีกเลย น่าเสียดายชมัด
Photo credit: Kong Pantumachinda
น่าเสียดายจริงๆ อาคารคลาสสิคของโรงแรมดุสิตธานี สัญลักษณ์หนึ่งของกรุงเทพมหานคร
ขนาดอาคาร รูปลักษณ์อาคาร เหมาะกับสี่แยกนั้นมากค่ะ อาคารดูสงบ อ่อนน้อมกับสวนลุม กับต้นไม้ กับสัตว์เล็กๆที่อยู่แบบอิสระในสวนสาธารณะ
อยากให้ท่านเจ้าของโรงแรม ทบทวนการปรับปรุงโรงแรมอีกครั้งค่ะ เป็นไปได้ไม๊คะ ที่จะเก็บอาคารหลักไว้…
น่าเสียดายมากค่ะ อาคารคลาสสิค สัญลักษณ์หนึ่งของกรุงเทพมหานคร
สถานที่ตั้งของอาคาร ฝั่งตรงข้ามสวนลุม อาคารสงบ สง่า นอบน้อมต่อต้นไม้ ต่อพื้นที่สีเขียว ต่อท้องฟ้า ต่อสัตว์เล็กๆ ในสวนสาธารณะ รวมทั้งต่อคนเดินถนน คนใช้ถนน
อยากให้กลุ่มท่านเจ้าของโรงแรม รับพิจารณาทางเลือกอื่น ที่ไม่ทำลายอาคารหลังนี้ค่ะ ดิฉันเชื่อค่ะ ว่าธุรกิจท่านมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ที่จะทำให้ท่าน win-win ทั้งในด้านธุรกิจ และด้าน conservation กรุงเทพที่เรารู้จัก และหลงรักค่ะ